3. CTC Connecting the Commons

1. ความหมาย “สมบัติร่วม” จากการทบทวนวรรณกรรม ในหนังสือ Free, Fair and Alive. The Insurgent Power of the Commons – Introduction by David Bollier and Silke Helfrich ซึ่งเป็นวรรณกรรมหลักที่โครงการวิจัยนี้ใช้ในการสร้างกรอบการศึกษา ได้ให้ความหมายของคำว่า “สมบัติร่วม” ไว้ว่า

“The commons is a robust class of self-organized social practices for meeting needs in fair, inclusive ways. It is a life-form. It is a framing that describes a different way of being in the world and different ways of knowing and acting”.

– Free, Fair and Alive. The Insurgent Power of the Commons by David Bollier and Silke Helfrich – page 4.

“สมบัติร่วมเป็นแนวทางปฏิบัติทางสังคมที่มีการจัดระเบียบตนเองอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการด้วยวิธีการที่ยุติธรรมและครอบคลุม เป็นรูปแบบชีวิตที่เป็นกรอบในการอธิบายวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในโลกใบนี้ที่แตกต่างออกไป ทั้งในเชิงของวิธีการรับรู้และการกระทำที่แตกต่างกัน”

“To prevent any misunderstanding: the commons is not just about small-scale projects for improving everyday life. It is a germinal vision for reimagining our future together and reinventing social organization, economics, infrastructure, politics, and state power itself. The commons is a social form that enables people to enjoy freedom without repressing others, enact fairness without bureaucratic control, foster togetherness without compulsion, and assert sovereignty without nationalism.”

“เพื่อทำความเข้าใจ: กรรมสิทธิ์ร่วมไม่ใช่โครงการขนาดย่อยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดำรงชีวิต แต่สมบัติร่วมเป็นการบ่มเพาะแนวคิดในการสร้างอนาคตของเราร่วมกัน เพื่อนำเสนอรูปแบบองค์กรทางสังคม ระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การเมือง และอำนาจทางสถานภาพ ดังนั้น สมบัติร่วมจึงเป็นรูปแบบทางสังคมที่จะทำให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพได้โดยไม่ควบคุมผู้อื่น ใช้ความยุติธรรมได้โดยไม่ต้องควบคุมด้วยกฎและระเบียบ อยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องบังคับและยึดมั่นในอธิปไตยแต่ไม่ใช่ชาตินิยม ” โดยกระบวนการสร้างสมบัติร่วมมี 3 องค์ประกอบ (Triad of Commoning)  ตามที่ David Broiler ได้เรียบเรียงไว้ โดยมี ส่วนของสังคม (Social Life) การปกครองร่วมกัน (Peer Governance) และการแบ่งสรรประโยชน์ (Provisioning) ซึ่งตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า สมบัติร่วมนั้นหลัก ๆ แล้วเกี่ยวกับการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชนและเครือข่ายไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ระหว่างมนุษย์กับโลกในปัจจุปัน อดีตและอนาคต (Broiler & Helfrich, p.93, 2019) โดยสิ่งสำคัญในกระบวนการนี้คือ การที่ ทำให้ผู้คนในขบวนได้ทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างเท่าเทียม (Broiler & Helfrich, p.95, 2019).

Triad of Commoning เป็นแผนภาพที่ออกแบบมาจากงานวิจัยจำนวนมากของ David Broiler โดยใช้รูปแบบโครงสร้างที่พบในกรณีศึกษาและการสัมภาษณ์ว่า โครงสร้างเหล่านี้สอดคล้องกับความเชื่อของพวกเขาหรือไม่? เพราะฉะนั้น การคิดค้นแผนผังนี้ขึ้นมาของ David Broiler ก็เพื่อศึกษาความเป็นสมบัติร่วมหรือคอมมอนส์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผ่านรูปแบบโครงสร้างตามที่ได้สำรวจมา ถึงแม้ว่า แผนผังนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากความเชื่อของตัวผู้เขียนเอง แต่นี่เป็นก้าวแรกของการจำแนกองค์ประกอบอันซับซ้อนของคอมมอนส์และสร้างทฤษฎีออกมารองรับเรื่องคอมมอน์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องคอมมอนส์ก็ยังคงต้องยอมรับถึงความหลากหลายในรูปธรรมของสถานการณ์จริง ซึ่งนั้นเป็นเหตุผลที่ไม่มีรูปแบบของคอมมอนส์ที่สมบูรณ์และตายตัว เพราะแต่ละองค์ประกอบสามารถเชื่อมโยงกันในระดับที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (Broiler & Helfrich, p.99 และ 97, 2019)

แผนภาพแสดงสามกระบวนการของสมบัติส่วนร่วม (Triad of Commoning)

2. ความหมายของคอมมอนส์จากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานด้านคอมมอนส์ในสังคมไทย จากการรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลา 3 เดือนของทีมวิจัย ทำให้ได้รู้ถึงความหมายของคอมมอนส์ที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายตามที่ได้สัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญมากมาย ซึ่งสามารถสรุปความหมายของคำว่า Commons ได้ ดังต่อไปนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์

Commons มีการเรียกหลายรูปแบบ แต่ถ้าเราใช้ “กรรมสิทธิ์ร่วม” จะหมายถึงที่ส่วนร่วม ทั้งนี้ในความเข้าใจทั่วไปจะเข้าใจว่าป่าชุมชนเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นป่าที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ (หรือภาษาเหนือเรียกว่าที่หน้าหมู่) เป็นของส่วนรวมมีทั้งที่มีอยู่เดิม และมีทั้งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ป่าที่ร่วมกันใหม่ ป่าที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดจากคนภายนอกมาบุกรุกที่ที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์อยู่เดิม อาจจะไม่มีลักษณะเป็นทางการ พอมีการบุกรุก ชาวบ้านจึงมาปกป้อง และกลายเป็นความเข้าใจในการรักษาพื้นที่ร่วมกัน ความเป็นส่วนร่วมนั้นเป็นความหมายเรื่อง “สิทธิ” ไม่ใช้แค่เรื่องพื้นที่หรือสิ่งของ แต่เป็นเรื่อง “สิทธิ์ส่วนรวม” ทำให้เราเข้าใจและนำมาสู่เรื่อง “สิทธิชุมชน” การใช้ “กรรมสิทธิ์ร่วม” เป็นการใช้ในรูปธรรมแบบใดแบบหนึ่ง แต่เมื่อเอามาบูรณาการเราจะได้ความคิดเรื่องสิทธิชุมชน

สุภา ใยเมือง

Commons เป็นหลักการเเบ่งปันในมิติที่หลากหลายพื้นที่สามารถเป็นของบุคคลหรือเป็นของกลุ่มได้การตกลงของกลุ่มต้องเกิดจากสมาชิกภายในและสมาชิกมีการพบปะ เเละทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

รศ. ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง

Commons จึงเป็นพื้นที่สาธารณะที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตร่วมของผู้คนในเชิงวัฒนธรรมสถาบันสังคมเศษฐกิจเเละสิ่งเเวดล้อมโดยปกติเเล้ว Commons สามารถเเบ่งได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ หนึ่ง Commons ที่เกิดจากวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของชุมชนและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ อย่างที่สอง คือ Commons ที่เกิดจากการตลาดทางเลือก เช่น ตลาดสีเขียวตลาดออร์แกนิคหรือตลาดชุมชน หากมองในเชิงมิติของสังคมและวัฒนธรรม Commons เป็นพื้นที่ส่วนร่วมที่ทุกคนสามารถมาสร้างผลผลิตเเละใช้ร่วมกันซึ่งเป็นการปฏิบัติร่วมกันผ่านประสบการณ์ ส่วนในมิติของเศรษฐกิจ Commons คือการเเลกเปลี่ยนเเละการค้ารูปแบบใหม่ที่ต่างจากระบบทุนนิยม และส่วนในมิติของการเมืองนั้น Commons คือหนทางที่นำผู้คนมาตั้งการจัดการอย่างเสมอภาคด้วยความสมัครใจเพื่อต่อรองกับภาครัฐและระบบทุนนิยม แต่สิ่งสำคัญของ Commons ทั้งที่จับต้องเเละไม่สามารถจับต้องได้นั้นคือ พื้นฐานในการเเบ่งบัน วัฒนธรรมการใช้ชีวิตของผู้คน

ดร. นฤมล ดรุโณทัย

Commons เป็นคตินิยมเเห่งความเมตตาคือการคิดถึงผู้อื่นไม่ใช่เเค่ผู้คนเเต่รวมไปถึงสิ่งมีชีวิต ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์พืชหรือต้นไม้ถ้าเราพูดถึงระบบปกครองของ Commons เราคงนึกถึงผู้คนในพื้นที่หนึ่งเเต่มันไม่ใช่เเค่นั้นมันคือการมีหลักการของความเมตตาเเละการแบ่งปันที่สามารถทำให้สมาชิกทำงานร่วมกันโดยไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่เอาเปรียบเเละไม่ครอบครองอย่างเด็ดขาด 

ผศ. ดร. เอกรินทร์ พึ่งประชา

Commons ถือว่า เป็นพื้นที่ที่ผู้คนเข้าถึงสิทธิในการทำกินโดยตรงตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชนบท เช่น ป่าชุมชนป่าต้นน้ำการอนุรักษ์น้ำหรือทรัพยากรทางธรรมชาติที่ปลุกความรู้สึกร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรภายใต้ข้อตกลงในการใช้ทรัพยากรนี้ร่วมกันในขณะที่ Commons ในเมืองมีการคงอยู่ที่ฝังอยู่ในหลายระดับซึ้งด้วยความซับซ้อนและหลากหลายทางโครงสร้างสังคมทำให้การตีความ Commons สำหรับคนเมืองเป็นความหมายที่จับต้องได้ยาก

สุนิตย์ เชรษฐา

สมบัติร่วม หรือ Commons เป็นเหมือนไสต์ลการจัดการที่สนับสนุนระบบโครงสร้างการจัดการด้วยตนเองเช่นการเข้าถึงสิทธิพื้นที่ทำกินเเละทรัพยาการทางธรรมชาติภายในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนสามารถใช้รักษาเเละพัฒนาทรัพยาการเหล่านี้อย่างเสมอภาคโดยปราศจากความขัดเเย้งของสิทธิส่วนบุคคล