รีวิวหนังสือโดยอนุสรณ์ ติปยานนท์ เรื่อง “เมืองพอดี”

สำหรับคนที่สนใจเรื่องราวของเมือง (city) พัฒนาการของเมือง ไปจนถึงอนาคตของเมืองที่เราล้วนอยู่อาศัย หนังสือเล่มนี้ของมานซินี่ที่เขียนขึ้นท่ามกลางวิกฤตแห่งโรคระบาดดูไม่อาจพลาดการอ่านไปได้

ในขณะที่หนังสือเล่ม Happy City ของ ชารส์ล มอนโกเมอรี่ (ซึ่งจัดพิมพ์ก่อนหน้าการระบาดของโคโรน่าไวรัส) พูดถึงการออกแบบเมืองผ่านเจตจำนงของผู้อยู่อาศัยและพูดถึงการประสานจากรัฐที่จะทำให้เจตจำนงเช่นนั้นเป็นไปได้เพื่อเป้าหมายของเมืองที่น่าอยู่ หนังสือเมืองพอดีหรือ Livable Proximity ได้ขยับไปไกลมากขึ้นด้วยการเสนอรูปแบบของเมืองที่ควรจะเป็นต่อการรับมือวิกฤตทั้งหลายที่จะมีมาในอนาคต โดยแก่นของความคิดคือการสร้างเมืองที่ผู้คนในเมืองหันมาเน้นในความใส่ใจและห่วงใยซึ่งกันและกัน ดูแลซึ่งกันและกัน เข้าถึงได้ซึ่งกันและกัน ลดความแปลกหน้ากัน ซึ่งการจะเกิดสิ่งนี้ได้การเข้าถึงความสัมพันธ์เช่นนี้ขนาดของเมืองที่มีต่อสิ่งสำคัญต้างๆไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชน ต้องมีระยะห่างที่พอดี

จากวิกฤตโรคภัยที่ผ่านมา ในเมืองใหญ่ การส่งอาหาร ยา เข้าสู่ชุมชนมีความยากลำบากตรงที่ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักซึ่งกันและกัน การเจ็บไข้ได้ป่วยถูกส่งเป็นภาระของส่วนกลาง แตกต่างจากชุมชนในชนบทที่มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเข้ามาเป็นผู้ดูแล ระยะห่างของความใกล้ชิดจึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ

มานซินี่กล่าวว่า “ถ้าไม่มีระยะที่พอดีก็ไม่มีการเอาใจใส่ และถ้าไม่มีการเอาใจใส่ก็ไม่มีพอดี” บทที่สามของหนังสือที่เน้นการเอาใจใส่และความเข้าอกเข้าใจหรือ empathy จึงดูเป็นศูนย์กลางของเนื้อหาที่พูดถึงปัญหาของเมืองแบบดั้งเดิม ความใส่ใจในเชิงปัจเจกแบบดั้งเดิมที่ถูกเกริ่นนำมาในบทที่หนึ่งและสองว่าจะมีการแก้ไขอย่างไร ก่อนจะนำเสนอกรณีศึกษาของการแก้ปัญหาในบทที่สี่อันเป็นบทสุดท้ายที่นำเสนอแนวทางทั้งการสร้างเครือข่ายอาหาร แก้ปัญหาสวัสดิการ ยกระดับโครงการชุมชนและอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยบทความของอิวานา ไพส์ นักสังคมวิทยาชาวอิตาเลียนที่นำเสนอการประยุทต์ใช้ดิจิตัล แพลทฟอร์มในการสร้าง”เมืองพอดี”

เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับการอ่านเพื่อเตรียมพร้อมการอยู่อาศัยในเมืองในช่วงปีใหม่นี้มากๆ

สั่งซื้อหนังสือได้ที่ลิงค์นี้ >> INI Innovation network international